ดนตรีแต่ละภาค

“เสียงดนตรี” เป็นสิ่งที่คอยขับเกล่ามนุษย์มาอย่างช้านาน เป็นตัวแทนแห่งความสุข ทุกข์ เศร้าหรือสรรเสริญในอิริยาบทต่างๆ มากมาย อีกทั้งยังเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมของมนุษย์ในแต่ละภูมิภาคทั่วโลกร่วมไปถึงในประเทศไทยอีกด้วย ในบทมความนี้ขอพาทุกๆ ท่านมาทำความรู้จักกับ “เครื่องดนตรีในแต่ละภมิภาค” ของประเทศไทยที่มีเสน่ห์อันน่าหลงใหลแตกต่างกันออกไปครับ

เครื่องดนตรี 4 ภาค ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ไปดูกันเล้ย!!!

1. ดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง เครื่องดนตรีของภาคกลางมักจะประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภท ดีด สี ตี เป่า แบ่งได้ดังต่อไปนี้
เครื่องดีด ด้แก่ จะเข้และจ้องหน่อง
เครื่องสี ได้แก่ ซอด้วงและซออู้
เครื่องตี ได้แก่ ระนาดเอก, ระนาดทุ้ม ระนาดทอง, ฆ้อง, ฉิ่ง, ฉาบและกรับ
เครื่องเป่าได้แก่ ขลุ่ยและปี่ 

เสน่ห์และลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง คือ วงปี่พาทย์ของภาคกลางจะมีการพัฒนาในลักษณะผสมผสานกับดนตรีหลวง โดยมีการพัฒนาจากดนตรีปี่และกลองเป็นหลักมาเป็นระนาดและฆ้องวงพร้อมทั้งเพิ่มเครื่องดนตรี มากขึ้นจนเป็นวงดนตรีที่มีขนาดใหญ่ รวมทั้งยังมีการขับร้องที่คล้ายคลึงกับปี่พาทย์ของหลวง ซึ่งเป็นผลมาจากการถ่ายโยงทางวัฒนธรรมระหว่างวัฒนธรรมราษฎร์และหลวง

2. ดนตรีพื้นเมืองบ้านภาคเหนือ เครื่องดนตรีของภาคเหนือจะแบ่งเป็นช่วงยุค
ยุคแรกๆ จะเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ได้แก่ ท่อนไม้กลวง ที่ใช้ประกอบพิธีกรรม ในเรื่องภูตผีปีศาจและเจ้าป่าเจ้าเขา จากนั้น ได้มีการพัฒนาโดยนำหนังสัตว์มาขึงที่ปากท่อนไม้กลวงไว้กลายเป็นเครื่องดนตรีที่เรียนกว่า “กลอง” ต่อมามีการพัฒนารูปแบบของกลองให้แตกต่างออกไปตามกิจกรรมหรือพิธีการที่ใช้ เช่น กลองรำมะนา, กลองยาว, กลองมองเซิง, กลองสองหน้า และตะโพนมอญ เป็นต้น 

เสน่ห์และลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ คือ มีการนำเครื่องดนตรีประเภท ดีด สี ตี เป่า มาผสมวงกันให้มีความสมบูรณ์และไพเราะ โดยเฉพาะในด้านสำเนียงและทำนองที่พลิ้วไหวตามบรรยากาศ ความนุ่มนวลอ่อนละมุนของธรรมชาติ กับวัฒนธรรมในราชสำนักทำให้เกิดการถ่ายโยง และการบรรเลงดนตรีได้ทั้งในแบบราชสำนักของคุ้มและวัง และแบบพื้นบ้านมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น    

3. ดนตรีพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) มีวิวัฒนาการมายาวนานนับพันปี เริ่มจากในระยะต้น มีการใช้วัสดุท้องถิ่นมาทำเลียนสียงจากธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเสียงสั้นไม่ก้อง ในระยะต่อมาได้ใช้วัสดุพื้นเมืองจากธรรมชาติมาเป่า เช่น ใบไม้ ผิวไม้ ต้นหญ้าปล้องไม้ไผ่ ทำให้เสียงมีความพลิ้วยาวขึ้น 

ต่อมามีการพัฒนามาใช้หนังสัตว์และเครื่องหนังมาใช้เป็นวัสดุสร้างเครื่องดนตรีที่มีความไพเราะและรูปร่างสวยงามขึ้น เช่น กรับ เกราะ ระนาด ฆ้อง กลอง โปง โหวด ปี พิณ โปงลาง แคน เป็นต้น 

เสน่ห์และเอกลักษณ์ของเครื่องดนตรีอีสานคือ การนำมาผสมผสานเป็นวงดนตรีพื้นบ้านภาคอีสานที่มีลักษณะเฉพาะตามพื้นที่ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอีสานเหนือและอีสานกลางจะนิยมดนตรีหมอลำที่มีการเป่าแคนและดีดพิณประสานเสียงร่วมกับการขับร้อง ส่วนกลุ่มอีสานใต้จะนิยมดนตรีกันตรึมซึ่งเป็นดนตรีบรรเลงที่ไพเราะของชาวอีสานใต้ที่มีเชื้อสายเขมร นอกจากนี้ยังมีวงพิณพาทย์และวงมโหรีด้วยชาวบ้านแต่ละกลุ่มก็จะบรรเลงดนตรีเหล่านี้กันเพื่อ ความสนุกสนานครื้นเครง ใช้ประกอบการละเล่น การแสดง และพิธีกรรมต่าง 

4. ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ เครื่องดนตรีภาคใต้มีลักษณะเรียบง่าย มีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีจากวัสดุใกล้ตัวซึ่งสันนิษฐานว่าดรตรีพื้นบ้านดั้งเดิมของภาคใต้น่า จะมาจากพวกเงาะซาไก ที่ใช้ไม่ไผ่ลำขนาดต่างๆ กันตัดออกมาเป็นท่อนสั้นบ้างยาวบ้าง แลัวตัดปากกของกระบอกไม้ไผ่ให้ตรงหรือเฉียงพร้อมกับหุ้มด้วยใบไม้หรือกาบของต้นพืช ใช้ตีประกอบการขับร้องและเต้นรำ 

ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นเครื่องดนตรีแตร กรับ กลองชนิดต่างๆ เช่น กลองรำมะนา ที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมลายู กลองชาตรีหรือกลองตุ๊กที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงมโนรา ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย เป็นต้น 

เสน่ห์และลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้จะได้รับอิทธิพลมาจากดินแดนใกล้เคียงหลายเชื้อชาติ จนเกิดการผสมผสานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการเน้นจังหวะและลีลาที่เร่งเร้า หนักแน่น และคึกคัก เป็นต้น

เราหวังว่าบทความนี้จะช่วยทำให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจและรู้จักเครื่องดนตรีของแต่ละภาคกันนะครับ